วันเสาร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2558

ประวัติความเป็นมาของอำเภอเชียงแสน

ที่มา:https://www.youtube.com/watch?v=f76qbwNhOlo
        
       เมืองเชียงแสน เป็นเมืองโบราณที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดเมืองหนึ่งของแคว้นล้านนา จากหลักฐานด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดี แสดงให้เห็นว่าเมืองเชียงแสนเป็นเมืองที่มีพัฒนาการมายาวนาน เนื่องจากเป็นเมืองที่มีทำเลที่ตั้งเหมาะสมจึงส่งผลให้มีความสำคัญทางด้านเศรษฐกิจ การปกครอง ศาสนาและศิลปกรรม ได้มีการพบหลักฐานการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ในยุคหินเก่าด้วย กลุ่มสิงหนวัติ เป็นกลุ่มคนไทยกลุ่มแรก ที่เข้ามาสร้างบ้านแปงเมือง บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำกก ชื่อเมือง "โยนกนาคพันธสิงหนวัติ"มีกษัตริย์ผู้สืบเชื้อสายปกครองต่อๆ กันมา จนกระทั่งสมัยของพระเจ้าพรหมสามารถรวบรวมบ้านเมืองและขยายขอบเขตของแคว้นโยนกออกไปได้หลายพื้นที่ คือ เมืองไชยปราการ (เขตอำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่)เมืองไชยนารายณ์ (เขตอำเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงราย) และเวียงพางคำ (เขตอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย)จนกระทั่งเมืองโยนกล่มสลายลงต่อมาโดยการนำของพ่อบ้านชื่อ "ขุนลัง" ได้พากันออกไปสร้างบ้านแปงเมืองขึ้นใหม่ บริเวณปากแม่น้ำกกขื่อว่า "เวียงปรึกษา"
       ในราวปลายพุทธศตวรรษที่ 12 ได้ปรากฏแคว้นหิรัญนครเงินยางโดยกลุ่มลาวจก ที่เชื่อกันว่าเป็น กลุ่มชนที่อพยพมาจากภูเขาลงมาสร้างบ้านแปงเมือง บริเวณริมแม่น้ำสาย ปกครองเมืองที่เคยเป็นเมืองโยนกเดิม แคว้นหิรัญนครเงินยางนี้มีผู้นำคือ "ขุนเจือง"เป็นผู้นำที่ยิ่งใหญ่มีความสามารถรวบรวมและขยายขอบเขตของแคว้นออกไปได้อย่างกว้างขวาง เมืองเชียงแสนเริ่มเข้าสู่สมัยประวัติศาสตร์ในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 19 มีพญามังรายกษัตริย์องค์ที่ 25 เชื้อสายราชวงศ์ลาวจก แห่งแคว้นหิรัญนครเงินยางสามารถยึดเมืองหริภุญไชยอันเป็นศูนย์กลางอำนาจบริเวณแม่น้ำปิง และได้สถาปนาเมืองเชียงใหม่ขึ้นเป็นราชธานี ของอาณาจักรล้านนาเมื่อปี พ.ศ. 1879 และในระยะเวลาต่อมา พญามังรายได้ส่งพญาแสนภูผู้เป็นหลาน มาควบคุมดูแลเมืองบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำกก และแม่น้ำโขงโดยในระยะแรก พญาแสนภูเข้ามาพักชั่วคราวบริเวณปากแม่น้ำกก(เชียงแสนน้อยในปัจจุบัน) ก่อนต่อมาได้ช่วยสร้างเมืองเชียงแสนขึ้น ตรงบริเวณพื้นที่ที่เคยเป็นเมืองเก่าเดิม และทรงเล็งเห็นว่าพื้นที่บริเวณนี้มีตำแหน่งที่ตั้งทางชัยภูมิที่เหมาะสมแก่การทำกสิกรรม เพื่อเป็นเมืองท่าหน้าด่านที่คอยควบคุมดูแลการค้าขายตามลำน้ำโขง พญาแสนภูโปรดให้ขุดคูและสร้างกำแพงเมืองล้อมรอบ 3 ด้าน คือ ด้านทิศเหนือ ด้านทิศตะวันตก และด้านทิศใต้ ส่วนด้านทิศตะวันออกใช้แม่น้ำโขงเป็นปราการธรรมชาติส่วนกำแพงที่ปรากฏหลักฐานอยู่ในปัจจุบันนี้สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างขึ้นในสมัยพญาสามฝั่งแถบเมื่อประมาณ พ.ศ.1951 เมื่อครั้งที่พวกฮ่อได้ยกทัพมาตีล้านนาและเมืองเชียงแสน
        ในระยะแรกเมืองเชียงแสนมีฐานะเป็นเมืองลูกหลวงของแคว้นล้านนาจนถึงสมัยพญาติโลกราช(ประมาณ พ.ศ. 1985-2030) เมื่อกองทัพของกรุงศรีอยุธยาเข้ายึดเมืองเชียงใหม่และแคว้นล้านนาทั้งหมดเมืองเชียงแสน ตกอยู่ภายใต้อำนาจการปกครองของอยุธยาด้วย หลังจากนั้นล้านนาก็ต้องตกอยู่ในอำนาจ ของพม่าและเมื่อพระยาจ่าบ้าน (วิเชียรปราการ) ร่วมกับพระยากาวิละ โดยการสนับสนุนกำลังกองทัพจากกรุงธนบุรีสามารถกอบกู้เมืองเชียงใหม่และขับไล่พม่าออกไปได้สำเร็จในปี พ.ศ.2317 แต่พม่าก็ยังย้ายมาตั้งมั่นที่ เมืองเชียงแสนได้อีกในปี พ.ศ.2347 พระยากาวิละได้ให้พระยาอุปราช (อนุชา) ยกกำลังเข้าไปขับไล่พม่าโดยเผาลำลายเมืองและป้อมกำแพงเมือง รวมทั้งอพยพผู้คนออกจากเมืองเชียงแสนไปไว้ในที่ต่่างๆ ในเมืองล้านนา
        ในปี พ.ศ.2417 ได้มีพวกพม่า ลื้อ เขิน จากเมืองเชียงตุง อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ภายในเมืองเชียงแสนพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าอินต๊ะนำราษฎรขาวเมืองลำพูน เชียงใหม่ เข้ามาตั้งบ้านเรือนในเมืองเชียงแสนจำนวน 1,500 ครัวเรือน เมื่อมีการจัดระบบการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาล(พ.ศ.2442) เมืองเชียงแสนได้ขึ้นกับมณฑลพายัพ ต่อมาเปลี่ยนการบริหารการปกครองส่วนภูมิภาคเป็นจังหวัด
เมืองเชียงแสนจึงมีฐานะเป็นกิ่งอำเภอเชียงแสนหลวง ขึ้นอยู่กับอำเภอแม่จัน จนกระทั่งเมื่อปี พ.ศ.
 2500 จึงยกฐานะเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดเชียงราย 






ที่มา:http://upic.me/i/ti/glitteryourway0ab759709jn.gif




อ้างอิง http://phrachiangsan.com/history.php




ตราสัญลักษณ์ประจำจังหวัดเชียงรายและคำขวัญอำเภอเชียงแสน

ตราสัญลักษณ์ประจำจังหวัดเชียงราย

ตราประจำจังหวัดเชียงราย
ที่มา:http://www.chiangrai.net


คำขวัญจังหวัดเชียงราย

       เหนือสุดในสยาม ชายแดนสามแผ่นดิน ถิ่นวัฒนธรรมล้านนา ล้ำค่าพระธาตุดอยตุง

ดอกไม้ประจำจังหวัดเชียงราย

           ดอกพวงแสด

ดอกไม้ประจำจังหวัดเชียงราย
ที่มา:https://chitsanupong14.wordpress.com

          ดอกกาละสองคำ

ที่มา:http://www.chiangraidirectory.com/

คำขวัญประจำอำเภอเชียงแสน

     ถิ่นอมตะ พระเชียงแสน แดนสามเหลี่ยม เยี่ยมน้ำโขง จรรโลงศิลปะ











แผนที่อำเภอเชียงแสน

แผนที่เดินทางไปยังอำเภอ เชียงแสน
ที่มา:http://www.chiangraifocus.com

ข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะที่ตั้ง

อำเภอเชียงแสนตั้งอยู่ทางทิศเหนือของจังหวัด และริมฝั่งตะวันตกของแม่น้ำโขง 

ขนาดพื้นที่ 554.0 ตร.กม.


อาณาเขตติดต่อ
ทิศตะวันออก  ติดต่อกับแขวงบ่อแก้ว (ประเทศลาว) และอำเภอเชียงของ
ทิศใต้  ติดต่อกับอำเภอเชียงของ อำเภอดอยหลวง และอำเภอแม่จัน
ทิศตะวันตก  ติดต่อกับอำเภอแม่จันและอำเภอแม่สาย

ลักษณะภูมิประเทศ  เป็นพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำ

สภาพภูมิอากาศ   มีอากาศหนาวแบบมรสุมเมืองร้อน

สภาพพื้นฐานด้านเศรษฐกิจและสังคม
    เชียงแสนมีแหล่งท่องเที่ยวที่มีความหลากหลายมีศักยภาพสูงในการพัฒนาท่องเที่ยวและการติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งทางบกและทางน้ำ โดยเฉพาะการพัฒนาเชื่อมโยงจีน  ซึ่งเป็นตลาดเป้าหมายสำคัญของเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน แต่การพัฒนาอุตสาหกรรมที่เชียงแสนยังมีไม่มากนักซึ่งมูลค่าการค้าชายแดนที่เชียงแสนกับคู่ค้าทั้ง 3 ประเทศ คือ พม่า ลาว และจีน  ในปี 2545 มีปริมาณ 3,512.28  ล้านบาท การขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 166.98 ต่อปี (2540-2545)และมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

การนับถือศาสนา
  ในอำเภอเชียงแสนมีการนับถือศาสนาอยู่หลายศาสนาซึ่งศาสนาพุทธจะเป็นศาสนาที่มีคนนับถือมากที่สุด รองลงมาคือศาสนาคริสต์ อิสลามตามลำดับ

อาชีพของประชากร
อาชีพหลัก การเกษตรกรรม เช่น ทำนา ทำสวนผัก ไร่ข้าวโพด ไร่ยาสูบ
อาชีพรอง ทำสวนผลไม้ รับจ้างนอกฤดูกาล ค้าขายชายแดน



อ้างอิง   http://phrachiangsan.com/history.php
          http://th.wikipedia.org

สถานที่น่าเที่ยวในเมืองเชียงแสน


ที่มา:https://www.youtube.com/watch?v=SZy2mZKQ-Nk

ที่มา:http://namcha.blogspot.com
       มืองเชียงแสนเป็นเมืองประวัติศาสตร์ จึงทำให้มีสถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์อยู่มากมายหลายที่ที่มีความสำคัญมากในทางประวัติศาสตร์ มีความสวยงามตามแบบศิลปะล้านนาที่มีความเก่าแก่มาก และยังมีสถานที่ท่องเที่ยวที่มีวิวทิวทัศน์ที่สวยงามมากเนื่องจากมีแม่น้ำโขงไหลผ่าน มีภูเขารายล้อมอยู่มากมาย สภาพของธรรมชาติก็ยังมีความอุดมสมบูรณ์มีป่าไม้ แม่น้ำ ลำธาร และสัตว์ป่าให้ได้พบเห็นอยู่ จึงทำให้เมืองเชียงแสนเป็นเมืองที่มีสถานที่ท่องเที่ยวอยู่มากมายหลายแห่ง

สถานที่ท่องเที่ยว


พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเชียงแสน


ที่มา:http://www.wiangcs.go.th/travel_detail.php?id=14
       พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเชียงแสน ตั้งอยู่ในตัวเมืองเชียงแสน เป็นที่เก็บรวบรวมโบราณวัตถุที่ได้จากบริเวณเมืองโบราณเชียงแสน แบ่งเป็น 3 ส่วน ส่วนที่หนึ่ง แสดงเรื่องประวัติศาสตร์การตั้งถิ่นฐาน และวัฒนธรรมสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ปูนปั้นจากวัดป่าสัก พระพุทธรูปศิลปะล้านนา จารึก เครื่องถ้วยล้านนา ส่วนที่ 2 เกี่ยวกับโบราณสถาน และโบราณวัตถุสำคัญที่พบในเมืองโบราณเชียงแสน และที่อื่น ส่วนที่ 3 จัดแสดงเกี่ยวกับชีวิตความเป็นอยู่ของกลุ่มชนแถบลุ่มแม่น้ำโขง ทั้งชาวไทใหญ่ ไทลื้อ และชาวไทยภูเขาเผ่าต่าง ๆ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงแสน เปิดตั้งแต่เวลา 09.00 -16.00 น. ทุกวันพุธ-อาทิตย์เว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์ ค่าเข้าชมคนไทยคนละ 10 บาท ชาวต่างประเทศ 30 บาท โทร. 0 5377 7102 และเยื้องพิพิธภัณฑ์จะมีศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ให้บริการข้อมูลเมืองโบราณเชียงแสน



วัดพระธาตุเจดีย์หลวง  


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ วัดพระธาตุเจดีย์หลวง เชียงแสน
ที่มา:http://www.chiangrai-tour.com
          วัดพระธาตุเจดีย์หลวง อำเภอเชียงแสน จ.เชียงราย ตั้งอยู่ติดกับพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเชียงแสน สร้างโดยพระเจ้าแสนภูเมื่อประมาณกลางพุทธศตวรรษที่ 19 โบราณสถานประกอบด้วย เจดีย์ประธานทรงระฆังแบบล้านนา เป็นเจดีย์ใหญ่ที่สุดในเชียงแสน นอกจากนี้ยังมีพระวิหารที่เก่ามากซึ่งพังทลายเกือบหมดแล้ว และเจดีย์รายแบบต่างๆ 4 องค์ที่หน้าประตูวัดและภายในวัดปกคลุมด้วยต้นไม้ขนาดใหญ่มากๆ ให้พื้นที่นี้ร่มรื่นมากๆ  มีจอดรถที่ลานจอดรถอันกว้างขวางมีร้านค้า เครื่องดื่ม ของที่ระลึกหลายร้าน




หอฝิ่น อุทยานสามเหลี่ยมทองคำ

ที่มา:http://panitamay1811.blogspot.com

                                  
          ตั้งอยู่บนพื้นที่ประมาณ 250 ไร่ ห่างจากอำเภอเชียงแสน 10 กิโลเมตร หอฝิ่นฯ ล้อมรอบด้วยสวนอันสวยงามเป็นศูนย์นิทรรศการแสดงประวัติความเป็นมาของฝิ่น คุณประโยชน์ และมหันตภัยของยาเสพติดต่อเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยการใช้มัลติมีเดียทันสมัยในการนำเสนอเนื้อหา เป็นการเรียนรู้ผ่านความบันเทิงในเวลาเดียวกัน
         สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีได้เสด็จมายังอำเภอเชียงแสน บริเวณรอบแม่น้ำโขง ที่ชายแดนทั้งสามประเทศมาบรรจบกัน และมีป้ายชื่อว่า สามเหลี่ยมทองคำสมเด็จย่าจึงทรงรับสั่งว่า ชื่อสามเหลี่ยมทองคำนี้ทำลายภาพพจน์และชื่อเสียงของประเทศ คนไทยน่าจะแก้ไขเรื่องนี้ จึงส่งผลสืบเนื่องให้เกิด หอฝิ่น อุทยานสามเหลี่ยมทองคำขึ้น เพื่อเป็นสถานที่ให้ความรู้เรื่องฝิ่นและยาเสพติดต่างๆ เพื่อปลูกจิตสำนึกให้ประชาชนต่อต้านและห่างไกลจากยาเสพติด นอกจากนี้ ยังมีห้องอาหาร ห้องประชุม และห้องพักภายในเกรทเธอร์ แม่โขง ลอดจ์ บริเวณรอบหอฝิ่นฯ บริการ นักท่องเที่ยว เหมาะสำหรับการจัดประชุม การสัมมนา หรือการพักผ่อนริมแม่น้ำโขง
         ที่ตั้งอุทยานสามเหลี่ยมทองคำ หมู่ 1. บ้านสบรวก ต. เวียง อ. เชียงแสน จ. เชียงราย   โทร (053) 784-444-6 , แฟกซ์ (053) 652-133 ,อัตราค่าเข้าชมคนไทย 200 บาท / ชาวต่างชาติ 300 บาท / ผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป 50 บาท / เด็กอายุ 12 – 18 ปี 50 บาท / เด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี ไม่เสียค่าใช้จ่ายวันและเวลาดำเนินการ วันอังคาร วันอาทิตย์ เวลา 8.30 – 16.00 น. (เวลา 16.00 น. เป็นเวลาขายบัตรรอบสุดท้าย )ระยะเวลาสำหรับการชมนิทรรศการโดยเฉลี่ย 1-2 ชั่วโมง


สามเหลี่ยมทองคำ


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ สามเหลี่ยมทองคำ
ที่มา:http://www.thetrippacker.com
        อยู่ห่างจากอำเภอแม่สาย ๒๘ กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข ๑๒๙๐ เป็นบริเวณที่แม่น้ำโขงและแม่น้ำรวกมาบรรจบกัน หรือที่เรียกว่า สบรวก เป็นพรมแดนระหว่างประเทศไทย ลาว พม่า บริเวณนี้เคยมีการค้าฝิ่น โดยแลกเปลี่ยนกับทองคำ ทิวทัศน์ของแม่น้ำโขงบริเวณนี้มีความงดงามโดยเฉพาะยามเช้าที่ดวงอาทิตย์ขึ้นท่ามกลางสายหมอกด้านฝั่งพม่า และลาว นักท่องเที่ยวนิยมนั่งเรือเที่ยวชมทิวทัศน์จุดบรรจบของพรมแดนไทย ลาว และพม่า ค่าเช่าเรือประมาณ ๓๐๐๔๐๐ บาท นั่งได้ ๖ คน ถ้าต้องการนั่งชมทิวทัศน์สองฝั่งแม่น้ำโขงไปไกลถึงเชียงแสนและเชียงของ ก็สามารถหาเช่าเรือได้ แต่ค่าเรือขึ้นอยู่กับระยะทางใกล้ไกล นักท่องเที่ยวที่สนใจล่องแม่น้ำโขงไปเที่ยวทางตอนใต้ของประเทศจีน เช่น สิบสองปันนา คุนหมิง สามารถติดต่อกับบริษัทนำเที่ยวในจังหวัดเชียงรายได้ หากต้องการจะชมทิวทัศน์มุมกว้างของสามเหลี่ยมทองคำบริเวณสบรวกและเพื่อนบ้าน ต้องขึ้นไปบนดอยเชียงเมี่ยง ที่อยู่ริมแม่น้ำโขง


วัดพระธาตุผาเงา


ที่มา:http://www.tripdeedee.com
         อยู่ห่างจากอำเภอเชียงแสนไปตามเส้นทางเชียงแสน-เชียงของ ประมาณ 4 กม. อยู่ตรงข้ามโรงเรียนสบคำ เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมมีเนื้อที่ 143 ไร่ มีเจดีย์ทรงระฆังขนาดเล็กตั้งอยู่บนหินก้อนใหญ่ วิหารปัจจุบันสร้างทับซากวิหารเดิม บนยอดเขาข้างหลังวัด เป็นที่ตั้งของพระบรมพุทธนิมิตรเจดีย์ที่มองเห็นทิวทัศน์สวยงามได้โดยรอบ และมีบ่อปลาที่ตรงกลางบ่อจะมีหอพระไตรปิฎกตั้งอยู่  บ่อปลาก็จะมีปลาที่ให้นักท่องเที่ยวได้เอาอาหารให้ปลา


ทะเลสาบเชียงแสน

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ทะเลสาบเชียงแสน
ที่มา:http://www.bloggang.com
       ทะเลสาบเชียงแสนหรือเขตห้ามล่าสัตว์หนองบงคาย มีชื่อเสียงในหมู่นักดูนกเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นที่อยู่อาศัยของนกน้ำและนกทุ่งจำนวนมาก ในฤดูหนาวจะมีนกอพยพจากต่างถิ่นจำนวนมหาศาล รวมทั้งนกพันธุ์หายากมาก เป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่มีกิจกรรมให้ได้สนุกเพลิดเพลินกันทั้งครอบครัว หรือหาถ้าหากมาเป็นคู่ก็จะโรแมนติกเหลือประมาณ ทั้งผืนน้ำ ผืนป่า และม่านหมอกในฤดูหนาว
       การเดินทางเริ่มจากสถานีขนส่งจังหวัดเชียงรายให้เส้นทางหมายเลข 1 เมื่อถึงทางแยกไปอำเภอเชียงแสนระยะทาง 33 กิโลเมตรอให้ไปใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 1016 อำเภอแม่จัน-อำเภอเชียงแสน ถึงกิโลเมตรที่ 27 ณ บ้านกู่เต้า เปลี่ยนไปใช้เส้นทาง ร.พ.ช. สายบ้านกู่เต้า-ดอยงาม ขับประมาณ 2 กโลเมตร จะถึงเขตห้ามล่าสัตว์หนองบงคาย จะมีป้ายขนาดใหญ่หน้าทางเข้าสังเกตง่าย
       ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมเขตห้ามล่าสัตว์หนองบงคาย(ทะเลสาบเชียงแสน) หมู่ 3 ตำบลโยนก อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย โทร.0857166549


อ้างอิง     http://www.touronthai.com
             http://www.maefahluang.org
             http://chiangraiairportthai.com
             http://www.thai-tour.com                                                                                                http://place.thai-tour.com
             http://thai.tourismthailand.org

ศิลป วัฒนธรรมและประเพณีเชียงแสน


           
ารแต่งกายไทยตามสมัยประวัติศาสตร์และโบราณคดี


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การแต่งกายเชียงแสน
ที่มา:www.lib.ru.ac.th
        สมัยเชียงแสน (ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 18 – 24) 

เชียงแสนปัจจุบันเป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดเชียงราย ปัจจุบันนักวิชาการนิยมเรียกรัฐ เชียงแสนว่า รัฐล้านนา ซึ่งมีอารยธรรมและวัฒนธรรมเป็นแบบหนึ่งโดยเฉพาะ (คณะอนุกรรมการ แต่งกายไทย, 2543: 91) เชียงแสนมีดินแดนต่อกับดินแดนทางภาคเหนือของอาณาจักรสุโขทัยชาวเชียงแสนมีความเจริญทางด้านศิลปวัฒนธรรมและวิทยาการต่างๆ โดยได้รับอิทธิพลทางศิลป จากอินเดียสมัยราชวงศ์ปาละ ผ่านทางมาทางประเทศพม่า และได้พัฒนาให้มีลักษณะของตัวเอง จนกลายเป็นรูปแบบของศิลปไทยแท้ในยุคแรก  มีหลักฐานกล่าวถึงผ้าหลายชนิดทั้งที่ทอขึ้น เป็น ของตัวเองและทอขึ้น เพื่อเป็นสินค้าขายให้แก่อาณาจักรใกล้เคียง เช่นผ้าสีจันทร์ขาว ผ้าสีจันทร์ แดง ผ้าสีดอกจำปา แสดงว่ามีการย้อมสีจากธรรมชาติ (โอม รัชเวทย์, 2543: 40) ทางด้านการ แต่งกายจึงเป็นการแต่งกายเป็นการผสมผสานระหว่าง พม่า และขอมลักษณะการแต่งกาย โดยทั่วไปมีดังนี้ 

ลักษณะการแต่งกายของผู้หญิง 
- ผม ผมทรงสูง เกล้าผมไว้ตรงกลาง 
- เครื่องประดับ สวมเครื่องประดับศีรษะ มีรัดเกล้า สวมสร้อยสังวาล รัดแขน กำไลมือ กำไลเท้า ใสตุ้มหู 
- เครื่องแต่งกาย นุ่งผ้าถุงยาวแบบต่ำที่ระดับใต้สะดือ มีผ้าคาดทิ้งชายยาว ปล่อยชาย พกห้อยออกมาที่ด้านหน้าเป็นแฉก ไม่สวมเสื้อ มีสไบแพรบางสำหรับรัดอกให้กระชับขณะทำงาน 

ลักษณะการแต่งกายของผู้ชาย 
- ผม ไว้ผมทรงสูง สวมเครื่องประดับศีรษะ 

- เครื่องประดับ สวมกรองคอ สร้อยสังวาล กำไลมือ และกำไลเท้า 
- เครื่องแต่งกาย นุ่งผ้าสองชาย จับจีบลงมาเกือบถึงข้อเท้า ด้านหน้าซ้อนผ้าหลายชั้น รัดชายออกเป็นปลีทางด้านข้างคล้ายชายไหวชายแครง มีผ้าข้าวม้าเคียนเอว หรือพาดบ่า อากาศ หนาว จะสวมเสื้อแขนยาว



การฟ้อนเชียงแสนหรือระบำเชียงแสน


ที่มา:https://www.youtube.com/watch?v=fGqH3rHBf3A

        ระบำ เชียงแสน เป็นระบำชุดที่ ๔ ประดิษฐ์ขึ้นตามแบบศิลปะ และโบราณวัตถุสถานเชียงแสน นักโบราณคดีกำหนดสมัยเชียงแสน  อยู่ในระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๗ ๒๕  ซึ่งได้เผยแพร่ไปทั่วดินแดนภาคเหนือของประเทศไทย  ในสมัยโบราณเรียกว่าอาณาจักรลานนา  ต่อมามีนครเชียงใหม่เป็นนครหลวงของอาณาจักร และเป็นศูนย์กลางแห่งการศึกษาพระพุทธศาสนาฝ่ายหินยานอันเจริญรุ่งเรือง จนถึงมีพระเถระไทยผู้เป็นนักปราชญ์สามารถ
แต่งตำนาน และคัมภีร์พระพุทธศาสนาเป็นภาษาบาลีขึ้นไว้หลายคัมภีร์ อาทิ คัมภีร์ชินกาลมาลีปกรณ์ และมังคลัตถทีปนี เป็นต้น ศิลปะแบบเชียงแสนได้แพร่หลายลงมาตามลุ่มแม่น้ำโขงเข้าไปในพระราชอาณาจักรลาว สมัยที่เรียกว่าลานช้าง หรือกรุงศรีสัตนาคนหุต แล้วแพร่หลายเข้าในประเทศไทยทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนด้วยเช่น พระพุทธรูปบางชนิดที่นักโบราณคดีบางท่านบัญญัติเรียกว่า พระพุทธรูปเชียงแสนแบบลาว หรือพระลาวพุงขาว  ด้วยเหตุนี้ระบำเชียงแสน จึงมีลีลาท่ารำ และกระบวนเพลงแบบสำเนียงไทยภาคเหนือ ลาว และแบบไทยภาตะวันออกเฉียงเหนือปนอยู่ด้วย

ดนตรี และเพลงที่ใช้ประกอบการแสดง
        ใช้วงพื้นเมืองภาคเหนือ เครื่องดนตรีประกอบด้วย ปี่จุ่ม แคน สะล้อ ซึง ตะโพน ฉิ่ง ฉาบใหญ่ และฆ้องหุ่ย
เพลงที่ใช้ประกอบการแสดง ได้แก่ เพลงเชียงแสน (เที่ยวช้า และเที่ยวเร็ว)

เครื่องแต่งกาย

        เครื่องแต่งกายของระบำเชียงแสน ประกอบด้วย
        ๑. เสื้อรัดอกสีเนื้อ 
        ๒. เสื้อลูกไม้สีเหลือง ติดริมด้วยแถบผ้าตาดสีทอง 
        ๓. ซิ่นเชิงแบบป้ายข้างแถวหนึ่งสีแดง อีกแถวหนึ่งสีตอง
        ๔. เครื่องประดับประกอบด้วยเข็มขัดมีเชือกห้อยทิ้งชายพู่ลงมาด้านหน้าทั้งสองข้าง สร้อยคอ ต่างหู กำไลข้อมือ และกำไลข้อเท้า 
        ๕. แต่งทรงผมตั้งกระบังหน้าประดับขดโลหะสีเงิน เกล้าผมมวย ไว้ด้านหลัง ติดดอกกล้วยไม้ข้างหูซ้าย


ที่มา:http://www.thaigoodview.com

ที่มา:http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/695/14695/blog_entry1/blog/2008-10-03/comment/328195_images/22_1223230228.gif



ศิลปะเชียงแสนหรือล้านนาไทย

        ศิลปะเชียงแสนมีความเกี่ยวพันกับศาสนาพุทธ นิกายเถรวาท เมื่อเราย้อนไปดูศิลปะขอมหรือลพบุรีได้อิทธิพลด้านรูปแบบจากขอมในเขมรเพราะเชื้อชาติ ภูมิศาสตร์และการปกครองซึ่งอยู่ใกล้ชิดกัน ในทำนองเดียวกันศิลปะล้านนาหรือที่เดิมเรียกว่าเชียงแสน เป็นศิลปะที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปะพม่า สมัยราชธานีพุกามค่อนข้างมากด้วยเหตุผลด้านภูมิศาสตร์และการเมืองการปกครองเช่นกัน เดิมเรามักเรียกศิลปะยุคนี้ว่าเชียงแสนด้วยเข้าใจว่าเมืองเชียงแสนมีความเก่าแก่ตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๗ และมีความสำคัญว่าเป็นเมืองหลักแต่ภายหลังพบว่าความสำคัญไม่เก่ากว่าก่อนพุทธศตวรรษที่ ๑๙และเมืองอื่นๆที่อยู่ใกล้เคียงก็มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีที่ไม่ยิ่งหย่อนกว่าเชียงแสนการเรียกว่าศิลปะล้านนาจึงจะครอบคลุมพื้นที่ได้มากกว่า อย่างไรก็ตามกับพระพุทธรูปก็ยังนิยมเรียกว่าพระเชียงแสนอยู่ดี


             ปฏิมากรรม

     สำหรับพระพุทธรูปในลัทธิเถรวาทแบบเชียงแสน ซึ่งส่วนมากพบทางภาคเหนือของประเทศไทย ได้แยกไว้เป็น ๒ รุ่น คือ


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ พระสิงห์1เชียงแสน
ที่มา:http://www.krusism.com
         รุ่นแรกเป็นพระพุทธรูปที่มีลักษณะคล้ายกับพระพุทธรูปแบบปาละของอินเดียผ่านมาทางพุกามของพม่า คุ้นเคยกันดีในหมู่คนเล่นพระว่า สิงห์หนึ่งคือมีลักษณะพระรัศมีเป็นรูปดอกบัวตูมหรือลูกแก้ว ขมวดพระเกศาใหญ่ พระพักตร์กลม อมยิ้ม พระหนุ (คาง) เป็นปม พระองค์อวบอ้วน พระอุระนูน ชายจีวรเหนือพระอังสาซ้ายสั้นเหนือพระถันปลายเป็นเขี้ยวตะขาบ ชอบทำปางมารวิชัย ขัดสมาธิเพชร แลเห็นฝ่าพระบาททั้งสองข้าง ฐานมีกลีบบัวคว่ำบัวหงายและเกสรบัวประกอบหล่อด้วยสัมฤทธิ์ (รูปที่ ๑) และเชื่อกันว่าเป็นวัตถุที่ทำขึ้นตั้งแต่ครั้งชนชาติไทยแรกลงมาตั้งเป็นอิสระขึ้นทางภาคเหนือของประเทศไทยตั้งแต่ราว พุทธศตวรรษที่ 17 ลงมาแต่บางท่านก็ว่าไม่เก่ากว่าปลายพุทธศตวรรษที่ 19 ประติมากรรมแบบนี้ที่งดงามมากบางชิ้นพบที่เมืองเชียงแสน และในสมัยนั้นเมืองเชียงแสนอาจเป็นเมืองสำคัญ จึงได้ตั้งชื่อศิลปะแบบนี้ว่าศิลปะเชียงแสน



ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ พระสิงห์2เชียงแสน
ที่มา:www.krusism.com
        สำหรับพระพุทธรูปแบบเชียงแสนรุ่นที่ ๒ หรือ สิงห์สองนั้น เป็นแบบที่มีอิทธิพลของศิลปะสุโขทัยเข้ามาปนแล้ว(ศิลปะสุโขทัยพุทธสตวรรษที่ ๑๙-๒๐) และคงมีอายุตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ ๒๐ หรือ ๒๑ ลงมา มีลักษณะสำคัญคือพระรัศมีเป็นรูปดอกบัวตูมที่สูงขึ้น หรือส่วนใหญ่เป็นรูปเปลวไฟ ขมวดพระเกศาเล็ก พระพักตร์มักเป็นรูปไข่ ขนงโก่ง โอษฐ์ยิ้ม แต่บางครั้งก็ยังคงกลมอยู่ วรกายเพรียวบาง อังสาใหญ่ บั้นองค์เล็ก ตักกว้าง แต่ชายจีวรเล็กแคบยาวลงมาถึงพระนาภี ชอบทำประทับนั่งขัดสมาธิราบแลเห็นฝ่าพระบาทแต่เพียงข้างเดียว ฐานบางครั้งก็เรียบไม่มีลวดลายประกอบ (รูปที่ ๒)
ในศิลปะแบบเชียงแสนรุ่นหลังหรือเชียงใหม่ มีพระพุทธรูปทรงเครื่องอยู่บ้างเหมือนกัน เห็นจะหมายความว่าเป็นพระอนาคตพุทธเจ้าหรือพระพุทธองค์ปางทรงทรมานพระยามหาชมภู (รูปที่ ๓) สันนิษฐานว่าสร้างปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๑ ลงมา พระพุทธรูปทรงเครื่องมักให้ความสำคัญกับการประดับตกแต่งฐานซึ่งค่อนข้างสูงเนื่องจากนอกจากจะมีฐานบัวคว่ำบัวหงายแล้วยังมีฐานรองรับอยู่อีกชั้น ซึ่งเจาะเป็นช่องและน่าจะมีความเกี่ยวข้องกับศิลปะแบบจีน ในสมัยนี้นิยมสร้างพระพุทธรูปด้วยแก้วและหินสีต่างๆ พระแก้วมรกตก็อาจเป็นพระพุทธรูปที่สลักขึ้นทางภาคเหนือของประเทศไทยในระยะนี้เช่นเดียวกัน แต่บางท่านก็ว่าเป็นพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นในเกาะลังกาหรือประเทศอินเดียภาคใต้ ตามตำนานที่น่าเชื่อถือได้กล่าวว่าได้ค้นพบ พระแก้วมรกตองค์นี้ในพระเจดีย์ที่เมืองเชียงราย เมื่อราว พ.ศ. ๑๙๗๙ และต่อมาได้ตกไปอยู่เมืองลำปาง เมืองเชียงใหม่ และประเทศลาวตามลำดับ จนกระทั่งเมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ขณะทรงพระยศเป็นเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกในสมัยกรุงธนบุรีเสด็จยกทัพไปตีเมืองเวียงจันทน์ได้ใน พ.ศ. ๒๓๒๑ จึงได้ทรงนำกลับมายังประเทศไทย พระพุทธรูปแบบเชียงแสนรุ่นหลังได้แพร่หลายออกไปจนถึงเมืองหลวงพระบาง เวียงจันทน์ และจำปาศักดิ์ ตลอดจนถึงเมืองเชียงรุ้ง เชียงตุง แต่ฝีมือสู้แบบเชียงแสนในไทยไม่ได้ พระพิมพ์แบบเชียงแสนก็มีเหมือนกัน ส่วนมากหล่อด้วยโลหะ ประติมากรรมรูปเทวดา หรือรูปบุคคล (รูปที่ ๔) ก็มีอยู่เช่นเดียวกันแต่เป็นจำนวนน้อย




           สถาปัตยกรรม

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ สถาปัตยกรรมเชียงแสน
ที่มา:http://2g.pantip.com
        อาคารหลังคาคลุมเช่นโบสถ์วิหาร มักได้รับการบูรณะเปลี่ยนแปลงหรือสร้างขึ้นใหม่เรื่อยมาจนคาดเดาเค้าเดิมได้ลำบากดังนั้นการศึกษาจึงน่าจะอยู่ที่การศึกษาเรื่องเจดีย์มากกว่า เจดีย์ล้านนาแบ่งออกได้เป็น 2 สายใหญ่ๆคือสายเจดีย์ทรงปราสาทและสายเจดีย์ทรงระฆัง
สำหรับสถาปัตยกรรมในศิลปะเชียงแสนหรือล้านนานั้น ส่วนมากที่ยังเหลืออยู่ให้เห็นได้เป็นฝีมือในสมัยเชียงแสนรุ่นหลัง คือตั้งแต่ครั้งสมัยพ่อขุนมังรายสร้างนครเชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ. ๑๘๔๐ ลงมาทั้งนั้น 
สายเจดีย์ทรงปราสาท เจดีย์ทรงปราสาทแบบล้านนาวิวัฒนาการเริ่มราวพุทธศตวรรษที่ ๒๑ และนิยมเรื่อยมาจนกระทั่งอาณาจักรล้านนาเสื่อมอำนาจราวพุทธศตวรรษที่ ๒๒ เป็นงานที่สืบทอดมาจากสมัยหริภุญชัย(หริภุญชัยราวพุทธศตวรรษที่ ๑๓-๑๘ ซึ่งได้รับอิทธิพลทวาราวดี) ได้แก่เจดีย์ทรงปราสาทในผังสี่เหลี่ยม เช่น พระเจดีย์สี่เหลี่ยม จ.เชียงใหม่ (รูปที่ ๕) ซึ่งแสดงให้เห็นว่าได้รับอิทธิพลมาจากเจดีย์แบบทวารวดีที่วัดกู่กุฏหรือจามเทวี เมืองลำพูน (รูปที่ ๖) เจดีย์อีกกลุ่มเป็นทรงปราสาทยอดหรือปราสาท 5 ยอดได้รับอิทธิพลจากพุกาม เช่นเจดีย์วัดป่าสัก เมืองเชียงแสนแต่ในสมัยหลังๆได้เปลี่ยนเป็นยอดเดียว สำหรับพระเจดีย์ทรงระฆังมีที่มาจากลังกา ในล้านนารับมา 2 ทางคือจากพุกามและจากสุโขทัยแต่ส่วนใหญ่จะเป็นแบบที่ได้รับอิทธิพลมาจากสุโขทัย ส่วนมากองค์พระเจดีย์เป็นทรงกลมแบบลังกา แต่มีฐานสูงย่อมุม พระเจดีย์แบบนี้มีอยู่หลายแห่งทางภาคเหนือของประเทศไทย เป็นต้นว่า พระธาตุลำปางหลวง จังหวัดลำปาง (รูปที่ ๗) พระธาตุหริภุญไชย จ.ลำพูน (รูปที่ ๘) เป็นต้น รูปแบบเจดีย์แบบนี้ได้รับความนิยมราวต้นพุทธศตวรรษที่ 20 และได้สืบทอดเรื่อยมาจนถึงราวปลายพุทธศตวรรษที่ 21 แต่ก็มีบางส่วนที่มีวิวัฒนาการด้านรูปแบบแตกต่างออกไป เช่น นิยมองค์ระฆังและบัลลังก์เหลี่ยมแปดเหลี่ยม สิบเหลี่ยม สิบสองเหลี่ยม เช่นกลุ่มเจดีย์พระธาตุดอยสุเทพ เป็นต้น

ในบรรดาสถาปัตยกรรมแบบเชียงแสนหรือล้านนามีที่แปลกอยู่แห่งหนึ่ง คือวัดเจ็ดยอดหรือโพธาราม ณ จังหวัดเชียงใหม่ (รูปที่ ๙) เป็นสถาปัตยกรรมที่เลียนแบบมหาวิหารโพธิ์ที่พุทธคยาในประเทศอินเดีย มีผู้พยายามอธิบายว่าได้สร้างขึ้นในรัชกาลของพระเจ้าติโลกราช (พ.ศ. ๑๙๘๕-๒๐๓๑) เพื่อฉลองพระพุทธศาสนาครบ ๒,๐๐๐ ปี ดังกล่าวมาแล้ว สำหรับโบสถ์วิหารในศิลปะแบบเชียงแสนที่ยังคงอยู่ในปัจจุบันนี้ส่วนมากเป็นสมัยหลัง และเนื่องจากดินแดนทางภาคเหนือของประเทศไทยถูกพม่าเข้าครอบครองระหว่างต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๒ ลงมาจนถึงต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๔ บรรดาโบสถ์วิหารจึงมีอิทธิพลของศิลปะพม่าเข้าไปปนอยู่


ประเพณีประจำปีของเชียงแสน

งานประเพณีสงกรานต์และแข่งเรือเมืองเชียงแสน

ที่มา:http://student.nu.ac.th

ที่มา:http://gossipthai.com


         วันที่จัดงาน: 13 – 18 เมษายน ของทุกปีสถานที่จัดงาน: อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย
วันปีใหม่ไทยเป็นประเพณีดั้งเดิมที่สืบเนื่องกันมาอย่ายาวนาน อำเภอเชียงแสนมีการจัดกิจกรรมปีใหม่ 4 ชาติ (ไทย ลาว จีน และพม่า)ภายในงานมีการแข่งเรือ 3 ชาติ (ไทย ลาว-พม่า) ชมการละเล่นพื้นเมืองและมหรสพมากมาย รวมถึงการประกวดธิดาสามเหลี่ยมทองคำ ขวบพาเหรดได้ถูกจัดอย่างสวยงามพร้อมกับที่ประชาชนได้สรงน้ำพระพุทธรูปพระเจ้าลานทอง นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมแข่งเรือและการแสดงพื้นบ้าน เมืองเชียงแสนถือเป็นเมืองสำคัญทางประวัติศารสตร์ที่เกี่ยวข้องกับอณาล้านนาจักรโบราณ ประเพณีสงกรานต์ได้จัดอย่างยิ่งใหญ่ในทุกวันที่ 13-18 เมษายนของทุกปี ซึ่งถือเป็นการสืบสานประเภทเพณีอันดีงามของประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้านอย่าง ลาวและจีนไว้อย่างเป็นเอกลักษณ์ เชียงแสนเป็นอำเภอหนึ่งที่อยู่ในจังหวัดเชียงราย อยู่ห่างจากตัวเมืองเชียงรายไปทางตอนใต้ระยะทางประมาณ 65 กิโลเมตร มีโรงแรมและรีสอร์ทตั้งอยู่ใกล้แม่น้ำโขงและเมืองโบราณมีทิวทัศน์ที่สวยงามโดยเฉพาะยามเช้าที่ดวงอาทิตย์ขึ้นท่ามกลางสายหมอก ปัจจุบันพื้นที่ที่ได้รับการพัฒนาและมีชื่อเสียงคือ สามเหลี่ยมทองคำ เป็นพรมแดนรอยระหว่างสามประเทศได้แก่ อำเภอเชียงแสน ประเทศไทย, แขวงบ่อแก้ว ประเทศลาวและทาขี้เหล็ก ประเทศพม่า เป็นพื้นที่เศรษฐกิจที่สำคัญเนื่องจากเป็นท่าเรือขนส่งสินค้าไปยังประเทศจีนและลาว วัดศูนย์กลางของเมืองเชียงแสน เป็นศาสนสถานที่สำคัญสำหรับชาวพุทธเพื่อนมัสการพระพุทธรูปศักสิทธ์เป็นที่เคารพชองชุมชน ในวันปีใหม่ของทุกปี ชาวบ้านจะนำพระพุทธรูปออกจากบ้านมาเพื่อสรงน้ำพระในวัด ในตอนเย็น มีการปิดถนนสายหลักของเมืองเพื่อทำการตั้งร้านค้าขายจำนวนมากให้ผู้คนและนักท่องเที่ยวสามารถเดินชม เลือกของสวยงาม สองข้างทางเต็มไปด้วยสินค้าที่วางขายเช่น ของพื้นเมือง งานหัตถกรรมและเทศการอาหาร ซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถเพลิดเพลินกับอาหารมื้อค้ำในแบบล้านนานที่เรียกกันว่าขันโตกและชมความบันเทิงพื้นบ้าน การละเล่นต่างๆมากมาย



ประเพณีการลอยกระทง


ที่มา:http://www.chiangraifocus.com

        ภายในงานจะมีมหรสพ ดนตรี การละเล่นพื้นบ้าน การจำหน่ายสินค้าโอทอป มีการประกวดนางนพมาศ การประกวดกระทง การประกวดโคมลอยหรือว่าวไฟ การประกวดโคมแขวน  การแข่งขันชกมวยไทย และมีการขายและเล่นประทัดตลอดทั้งงานและที่ขาดไม่ได้เลยก็คือวันเปิดงานจะมีการแห่ขบวนกระทงทั้งเล็กและใหญ่ที่ตกแต่งอย่างสวยงาม คนที่มาร่วมเดินขบวนก็จะแต่งกายแบบย้อนยุคหรือแบบล้านนามาร่วมเดินขบวน ซึ่งถือว่าเป็นการเปิดเมืองเชียงแสนให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางด้านศิลปะ วัฒนธรรม ไหว้พระ ชมเมืองโบราณ ลอยกระทงในแม่น้ำโขง และการปล่อยโคมลอยทั้งมดนี้จะทำให้ได้สัมผัสกับอากาศหนาวๆ บรรยากาศดีๆที่ผืนน้ำเต็มไปด้วยแสงไปจากกระทงท้องฟ้าเต็มไปด้วยแสงไปอันสว่างจากโคมลอย



ที่มาhttp://www.oknation.net/blog/home/blog_data/788/3788/images/03Newyear/Bee_12.gif



อ้างอิง     http://facstaff.swu.ac.th
             https://plaer2538.wordpress.com
             http://m.touronthai.com
             http://www.baanjomyut.com