แกงฮังเล
ที่มา:http://library.cmu.ac.th |
แกงฮังเล
มี 2 ชนิด คือ แกงฮังเลม่าน และ แกงฮังเลเชียงแสน
เชื่อกันว่าเป็นอาหารที่ได้รับอิทธิพลมาจากพม่า
สำหรับแกงฮังเลเชียงแสนจะแตกต่างตรงที่มีถั่วฝักยาว มะเขือยาว พริกสด หน่อไม้ดอง
งาขาวคั่ว เพิ่มเข้ามา ส่วนเคล็ดลับในการปรุงการคั่วเครื่องแกง ควรใช้ไฟปานกลาง
ใช้เนื้อกระท้อนแทนมะขามเปียกได้ ให้รสชาติเปรี้ยว และมีกลิ่นหอม
แกงโฮะ
ที่มา:www.ranaroi.in.th |
แกงโฮะ
คำว่า “โฮะ” แปลว่า รวม
คือการนำเอาอาหารหลายๆ อย่างมารวมกัน
ในสมัยก่อนแกงโฮะมักจะทำจากอาหารที่เหลือหลายๆ อย่างรวมกัน
โดยอาจมีการปรุงรสตามใจชอบ หรือเติมบางอย่าง เช่น วุ้นเส้น หน่อไม้
และแต่งกลิ่นโดยใส่ใบมะกรูด ตะไคร้ ปัจจุบัน นิยมใช้ของสดในการปรุง และใช้แกงฮังเลเป็นเครื่องปรุง
แกงกระด้าง
ที่มา:www.bloggang.com |
แกงกระด้าง
บ้างเรียกว่า แกงหมูกระด้าง แกงหมูหนาว นิยมใช้ขาหมูทำ เพราะเป็นส่วนที่มีเอ็นมาก
เป็นส่วนที่ทำให้แกงข้น เกาะตัว หรือกระด้างง่าย แต่ปัจจุบันมีการเติมผงวุ้นเย็น
เพื่อช่วยให้แกงกระด้างได้ดีและเร็วขึ้น แกงกระด้างมี 2
สูตร คือแบบเชียงใหม่ และแบบเชียงราย สำหรับแกงกระด้างแบบเชียงรายจะใส่เครื่องแกงลงไปขณะต้มขาหมู
และจะมีสีส้มจากพริกแห้ง
แกงแค
ที่มา:http://Library.cmu.ac.th |
เป็นแกงที่ประกอบด้วยผักหลายชนิด
และมีเนื้อสัตว์เป็นส่วนผสมด้วยหนึ่งอย่าง
เรียกชื่อแกงแคตามชนิดของเนื้อสัตว์ที่นำมาเป็นส่วนผสมนั้น เช่น แกงแคไก่ แกงแคกบ
แกงแคจิ๊นงัว แกงแคปลาแห้ง ผักที่เป็นส่วนผสมหลัก ส่วนใหญ่ประกอบด้วย ผักตำลึง
ผักชะอม ใบชะพลู ผักชีฝรั่ง มะเขือพวง เห็ดลมอ่อน ผักเผ็ด และดอกแค
จอผักกาด
ที่มา:http://Kroechtaitoblogger.blogspot.com |
จอผักกาด
เป็นตำรับอาหารที่ใช้ผักกาดกวางตุ้งที่กำลังออกดอก หรือเรียกว่า ผักกาดจ้อน
หรือผักกาดดอก ซึ่งปรุงด้วย เกลือ กะปิ ปลาร้าหรือกะปิ
ปรุงรสด้วยน้ำมะขามเปียกหรือมะขามสด ใส่กระดูกหมูด้วยก็ได้
ซึ่งบางแห่งนิยมใส่น้ำอ้อย ลงไปด้วย บางสูตรใส่ถั่วเน่าแข็บ
หรือถั่วเน่าแผ่นย่างไฟ นิยมรับประทานกับพริกแห้งทอด ตัดเป็นท่อน โรยหน้าแกง
หรือรับประทานต่างหาก แล้วแต่ชอบ
แอ็บอ่องออ
ที่มา:http://Topicstock.puntip.com |
แอ็บอ่องออ
หรือแอ็บสมองหมู คืออาหารที่ปรุงด้วยการนำสมองหมูสด นำมาคลุกเคล้ากับเครื่องปรุง
แล้วห่อด้วยใบตอง เช่นเดียวกับแอ็บหมู แอ็บปลา แอ็บกุ้ง ทำให้สุกโดยปิ้งหรือย่าง
ด้วยไฟอ่อนๆ จนข้างในสุก
ไส้อั่ว
http://Decade2.rmutp.ac.th |
ไส้อั่ว
คำว่า อั่ว หมายถึง แทรก หรือยัดไว้ตรงกลาง ไส้อั่ว
จึงหมายถึงไส้ที่มีการนำสิ่งของยัดไว้ การทำไส้อั่ว นิยมใช้ไส้หมูและเนื้อหมู
การทำไส้อั่ว เป็นวิธีการถนอมอาหาร ให้สามารถรับประทานได้นานขึ้น คือประมาณ 1-2
วัน แต่ถ้าเก็บไว้ในที่เย็น หรือปัจจุบัน มีการบรรจุถุงแบบสูญญากาศ
ก็เก็บไว้ได้นานมากยิ่งขึ้น การทำให้ไส้อั่วสุก จะใช้วิธีปิ้ง หรือทอดก็ได้
และขณะที่นำไส้อั่วย่างไฟ ให้ใช้ไม้จิ้มเพื่อระบายอากาศ เพื่อไม่ให้ไส้แตก
การย่างกับถ่านไม้ ไส้อั่วจะมีกลิ่นหอมชวนรับประทาน
ข้าวกั๊นจิ๊น
ที่มา:http://Women.postjung.com |
ข้าวกั๊นจิ๊น
หรือข้าวเงี้ยว หรือจิ๊นส้มเงี้ยว เชื่อว่าเป็นอาหารของชาวไทใหญ่หรือเงี้ยว
ใช้ใบตองห่อเช่นเดียวกับแหนม (จิ๊นส้ม) จึงเรียกว่า ข้าวเงี้ยว หรือจิ๊นส้มเงี้ยว
บางสูตรไม่ใส่เนื้อสับ แต่ใส่เลือดคลุกเคล้ากับข้าวอย่างเดียว
แกงขนุน
ที่มา:www.fungfink.com |
แกงขนุน หรือ แกงบ่าหนุน ถือว่าเป็นแกงที่มีชื่อเป็นมงคล
บางท่านนิยมแกงกินในงานแต่งงาน
เพื่อเป็นเคล็ดว่าให้คู่แต่งงานนั้นมีความเกื้อหนุนจุนเจือต่อกัน และในวันปากปี
คือหลังวันเถลิงศก (วันพญาวัน) หนึ่งวัน บางแห่งนิยมใส่ข่า ตะไคร้ทุบ
และอาจมีจักข่าน (สะค้าน) บ่าแขว่น (ผลกำจัด) โขลกใส่ลงไปในแกงด้วย
อ้างอิง http://www.chiangmaitouring.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น