วันเสาร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2558

สถานที่น่าเที่ยวในเมืองเชียงแสน


ที่มา:https://www.youtube.com/watch?v=SZy2mZKQ-Nk

ที่มา:http://namcha.blogspot.com
       มืองเชียงแสนเป็นเมืองประวัติศาสตร์ จึงทำให้มีสถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์อยู่มากมายหลายที่ที่มีความสำคัญมากในทางประวัติศาสตร์ มีความสวยงามตามแบบศิลปะล้านนาที่มีความเก่าแก่มาก และยังมีสถานที่ท่องเที่ยวที่มีวิวทิวทัศน์ที่สวยงามมากเนื่องจากมีแม่น้ำโขงไหลผ่าน มีภูเขารายล้อมอยู่มากมาย สภาพของธรรมชาติก็ยังมีความอุดมสมบูรณ์มีป่าไม้ แม่น้ำ ลำธาร และสัตว์ป่าให้ได้พบเห็นอยู่ จึงทำให้เมืองเชียงแสนเป็นเมืองที่มีสถานที่ท่องเที่ยวอยู่มากมายหลายแห่ง

สถานที่ท่องเที่ยว


พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเชียงแสน


ที่มา:http://www.wiangcs.go.th/travel_detail.php?id=14
       พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเชียงแสน ตั้งอยู่ในตัวเมืองเชียงแสน เป็นที่เก็บรวบรวมโบราณวัตถุที่ได้จากบริเวณเมืองโบราณเชียงแสน แบ่งเป็น 3 ส่วน ส่วนที่หนึ่ง แสดงเรื่องประวัติศาสตร์การตั้งถิ่นฐาน และวัฒนธรรมสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ปูนปั้นจากวัดป่าสัก พระพุทธรูปศิลปะล้านนา จารึก เครื่องถ้วยล้านนา ส่วนที่ 2 เกี่ยวกับโบราณสถาน และโบราณวัตถุสำคัญที่พบในเมืองโบราณเชียงแสน และที่อื่น ส่วนที่ 3 จัดแสดงเกี่ยวกับชีวิตความเป็นอยู่ของกลุ่มชนแถบลุ่มแม่น้ำโขง ทั้งชาวไทใหญ่ ไทลื้อ และชาวไทยภูเขาเผ่าต่าง ๆ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงแสน เปิดตั้งแต่เวลา 09.00 -16.00 น. ทุกวันพุธ-อาทิตย์เว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์ ค่าเข้าชมคนไทยคนละ 10 บาท ชาวต่างประเทศ 30 บาท โทร. 0 5377 7102 และเยื้องพิพิธภัณฑ์จะมีศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ให้บริการข้อมูลเมืองโบราณเชียงแสน



วัดพระธาตุเจดีย์หลวง  


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ วัดพระธาตุเจดีย์หลวง เชียงแสน
ที่มา:http://www.chiangrai-tour.com
          วัดพระธาตุเจดีย์หลวง อำเภอเชียงแสน จ.เชียงราย ตั้งอยู่ติดกับพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเชียงแสน สร้างโดยพระเจ้าแสนภูเมื่อประมาณกลางพุทธศตวรรษที่ 19 โบราณสถานประกอบด้วย เจดีย์ประธานทรงระฆังแบบล้านนา เป็นเจดีย์ใหญ่ที่สุดในเชียงแสน นอกจากนี้ยังมีพระวิหารที่เก่ามากซึ่งพังทลายเกือบหมดแล้ว และเจดีย์รายแบบต่างๆ 4 องค์ที่หน้าประตูวัดและภายในวัดปกคลุมด้วยต้นไม้ขนาดใหญ่มากๆ ให้พื้นที่นี้ร่มรื่นมากๆ  มีจอดรถที่ลานจอดรถอันกว้างขวางมีร้านค้า เครื่องดื่ม ของที่ระลึกหลายร้าน




หอฝิ่น อุทยานสามเหลี่ยมทองคำ

ที่มา:http://panitamay1811.blogspot.com

                                  
          ตั้งอยู่บนพื้นที่ประมาณ 250 ไร่ ห่างจากอำเภอเชียงแสน 10 กิโลเมตร หอฝิ่นฯ ล้อมรอบด้วยสวนอันสวยงามเป็นศูนย์นิทรรศการแสดงประวัติความเป็นมาของฝิ่น คุณประโยชน์ และมหันตภัยของยาเสพติดต่อเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยการใช้มัลติมีเดียทันสมัยในการนำเสนอเนื้อหา เป็นการเรียนรู้ผ่านความบันเทิงในเวลาเดียวกัน
         สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีได้เสด็จมายังอำเภอเชียงแสน บริเวณรอบแม่น้ำโขง ที่ชายแดนทั้งสามประเทศมาบรรจบกัน และมีป้ายชื่อว่า สามเหลี่ยมทองคำสมเด็จย่าจึงทรงรับสั่งว่า ชื่อสามเหลี่ยมทองคำนี้ทำลายภาพพจน์และชื่อเสียงของประเทศ คนไทยน่าจะแก้ไขเรื่องนี้ จึงส่งผลสืบเนื่องให้เกิด หอฝิ่น อุทยานสามเหลี่ยมทองคำขึ้น เพื่อเป็นสถานที่ให้ความรู้เรื่องฝิ่นและยาเสพติดต่างๆ เพื่อปลูกจิตสำนึกให้ประชาชนต่อต้านและห่างไกลจากยาเสพติด นอกจากนี้ ยังมีห้องอาหาร ห้องประชุม และห้องพักภายในเกรทเธอร์ แม่โขง ลอดจ์ บริเวณรอบหอฝิ่นฯ บริการ นักท่องเที่ยว เหมาะสำหรับการจัดประชุม การสัมมนา หรือการพักผ่อนริมแม่น้ำโขง
         ที่ตั้งอุทยานสามเหลี่ยมทองคำ หมู่ 1. บ้านสบรวก ต. เวียง อ. เชียงแสน จ. เชียงราย   โทร (053) 784-444-6 , แฟกซ์ (053) 652-133 ,อัตราค่าเข้าชมคนไทย 200 บาท / ชาวต่างชาติ 300 บาท / ผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป 50 บาท / เด็กอายุ 12 – 18 ปี 50 บาท / เด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี ไม่เสียค่าใช้จ่ายวันและเวลาดำเนินการ วันอังคาร วันอาทิตย์ เวลา 8.30 – 16.00 น. (เวลา 16.00 น. เป็นเวลาขายบัตรรอบสุดท้าย )ระยะเวลาสำหรับการชมนิทรรศการโดยเฉลี่ย 1-2 ชั่วโมง


สามเหลี่ยมทองคำ


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ สามเหลี่ยมทองคำ
ที่มา:http://www.thetrippacker.com
        อยู่ห่างจากอำเภอแม่สาย ๒๘ กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข ๑๒๙๐ เป็นบริเวณที่แม่น้ำโขงและแม่น้ำรวกมาบรรจบกัน หรือที่เรียกว่า สบรวก เป็นพรมแดนระหว่างประเทศไทย ลาว พม่า บริเวณนี้เคยมีการค้าฝิ่น โดยแลกเปลี่ยนกับทองคำ ทิวทัศน์ของแม่น้ำโขงบริเวณนี้มีความงดงามโดยเฉพาะยามเช้าที่ดวงอาทิตย์ขึ้นท่ามกลางสายหมอกด้านฝั่งพม่า และลาว นักท่องเที่ยวนิยมนั่งเรือเที่ยวชมทิวทัศน์จุดบรรจบของพรมแดนไทย ลาว และพม่า ค่าเช่าเรือประมาณ ๓๐๐๔๐๐ บาท นั่งได้ ๖ คน ถ้าต้องการนั่งชมทิวทัศน์สองฝั่งแม่น้ำโขงไปไกลถึงเชียงแสนและเชียงของ ก็สามารถหาเช่าเรือได้ แต่ค่าเรือขึ้นอยู่กับระยะทางใกล้ไกล นักท่องเที่ยวที่สนใจล่องแม่น้ำโขงไปเที่ยวทางตอนใต้ของประเทศจีน เช่น สิบสองปันนา คุนหมิง สามารถติดต่อกับบริษัทนำเที่ยวในจังหวัดเชียงรายได้ หากต้องการจะชมทิวทัศน์มุมกว้างของสามเหลี่ยมทองคำบริเวณสบรวกและเพื่อนบ้าน ต้องขึ้นไปบนดอยเชียงเมี่ยง ที่อยู่ริมแม่น้ำโขง


วัดพระธาตุผาเงา


ที่มา:http://www.tripdeedee.com
         อยู่ห่างจากอำเภอเชียงแสนไปตามเส้นทางเชียงแสน-เชียงของ ประมาณ 4 กม. อยู่ตรงข้ามโรงเรียนสบคำ เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมมีเนื้อที่ 143 ไร่ มีเจดีย์ทรงระฆังขนาดเล็กตั้งอยู่บนหินก้อนใหญ่ วิหารปัจจุบันสร้างทับซากวิหารเดิม บนยอดเขาข้างหลังวัด เป็นที่ตั้งของพระบรมพุทธนิมิตรเจดีย์ที่มองเห็นทิวทัศน์สวยงามได้โดยรอบ และมีบ่อปลาที่ตรงกลางบ่อจะมีหอพระไตรปิฎกตั้งอยู่  บ่อปลาก็จะมีปลาที่ให้นักท่องเที่ยวได้เอาอาหารให้ปลา


ทะเลสาบเชียงแสน

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ทะเลสาบเชียงแสน
ที่มา:http://www.bloggang.com
       ทะเลสาบเชียงแสนหรือเขตห้ามล่าสัตว์หนองบงคาย มีชื่อเสียงในหมู่นักดูนกเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นที่อยู่อาศัยของนกน้ำและนกทุ่งจำนวนมาก ในฤดูหนาวจะมีนกอพยพจากต่างถิ่นจำนวนมหาศาล รวมทั้งนกพันธุ์หายากมาก เป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่มีกิจกรรมให้ได้สนุกเพลิดเพลินกันทั้งครอบครัว หรือหาถ้าหากมาเป็นคู่ก็จะโรแมนติกเหลือประมาณ ทั้งผืนน้ำ ผืนป่า และม่านหมอกในฤดูหนาว
       การเดินทางเริ่มจากสถานีขนส่งจังหวัดเชียงรายให้เส้นทางหมายเลข 1 เมื่อถึงทางแยกไปอำเภอเชียงแสนระยะทาง 33 กิโลเมตรอให้ไปใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 1016 อำเภอแม่จัน-อำเภอเชียงแสน ถึงกิโลเมตรที่ 27 ณ บ้านกู่เต้า เปลี่ยนไปใช้เส้นทาง ร.พ.ช. สายบ้านกู่เต้า-ดอยงาม ขับประมาณ 2 กโลเมตร จะถึงเขตห้ามล่าสัตว์หนองบงคาย จะมีป้ายขนาดใหญ่หน้าทางเข้าสังเกตง่าย
       ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมเขตห้ามล่าสัตว์หนองบงคาย(ทะเลสาบเชียงแสน) หมู่ 3 ตำบลโยนก อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย โทร.0857166549


อ้างอิง     http://www.touronthai.com
             http://www.maefahluang.org
             http://chiangraiairportthai.com
             http://www.thai-tour.com                                                                                                http://place.thai-tour.com
             http://thai.tourismthailand.org

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น